เกี่ยวกับเรา

การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 5
ภูษาอาเซียน
การปรับตัว การเปลี่ยนแปลง และพลังสร้างสรรค์

ผู้รับผิดชอบโครงการ
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
โทรศัพท์ 0–7567–2508-10 โทรสาร 0–7567–2507
อีเมล์ cultural.wu@gmail.com

เจ้าภาพร่วม
• สำนักวิชาศิลปศาสตร์
• สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
• สถาบันวิจัยและนวัตกรรม
• ศูนย์กิจการนานาชาติ
• สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ

รายละเอียดโครงการ
1. หลักการและเหตุผล
ลักษณะสำคัญของโลกยุคโลกาภิวัตน์คือพรมแดนของความเป็นรัฐชาติหมดความหมายมากขึ้นเนื่องจากลักษณะของการจัดระเบียบเป็นรัฐชาติหรือประเทศใครประเทศมันไม่เอื้อต่อการพัฒนาที่โลกสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรไปอย่างมากจากการพัฒนาที่ผ่านมา จึงจำเป็นต้องจัดระเบียบแบบแผนของพรมแดนเสียใหม่เพื่อให้การก้าวหน้าของโลกในทิศที่เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถเป็นจริงได้ต่อไป ในขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคมก็สามารถย่นระยะเวลาและสถานที่ในการติดต่อสื่อสารกัน ทำให้เอื้อต่อการจัดพรมแดนแบบใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นจริงเป็นจริงเป็นจังได้

พรมแดนอย่างใหม่ที่เกิดขึ้นและจะเป็นพลังให้ประเทศต่างๆในโลกนี้จัดความสัมพันธ์กันภายใต้ระเบียบโลกใหม่ คือพรมแดนของประชาคม โลกปัจจุบันจึงเกิดประชาคมต่างๆขึ้นมากมาย โดยประชาคมหนึ่งจะมีความหมายทั้งในแง่การสร้างศักยภาพของการพัฒนาภายในประชาคม และการต่อรองกับประชาคมอื่นๆ

“ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community) เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวนี้ แม้ประชาคมอาเซียนจะเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ความหมายของการเป็นพรมแดนอย่างใหม่ดังที่กล่าวข้างต้นเพิ่งเกิดขึ้นอย่างชัดเขนในช่วงที่มีการประกาศ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่งประเทศต่างๆในกลุ่มประเทศอาเซียนมีเจตนาร่วมกันที่จะก้าวไปข้างหน้าในลักษณะที่ทุกประเทศจะรวมกันเป็น “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งชุมชน” (One vision, One identity, One community) ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งในแง่ของการสร้างความเข้มแข็งของตนเองไปในทิศทางดังกล่าว และการร่วมกับประเทศต่างๆในกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในประชาคมอย่างแท้จริง

มิติทางวัฒนธรรมได้รับการประกาศให้เป็นเสาหลักหนึ่งของประชาคมอาเซียน (ASEAN Socio – Cultural Community – ASCC) หมายถึงว่ามิติทางวัฒนธรรมจะต้องมีส่วนสำคัญในการสร้างความเป็นหนึ่งและความเข้มแข็งให้แก่ประคมอาเซียน ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นความเข้มแข็งที่สามารถส่งเสริมการแข่งขันกับประชาคมอื่นได้

มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานและสถาบันทางสังคมที่มีหน้าที่สำคัญที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประเทศและประชาคมในทุกมิติ โดยมหาวิทยาลัยจะต้องการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถทำหน้าที่สำคัญดังกล่าวได้ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จึงมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในมิติทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อในด้านหนึ่งประเทศต่างๆยังคงเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมตนเองในการที่จะสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ผู้คนในประเทศ ในขณะเดียวกันก็สามารถปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เกิดมิติใหม่ ๆ ที่จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งของประชาคม

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จึงคิดโครงการที่จะดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องได้แก่โครงการ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” โดยหวังว่าโครงการดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยสามารถแสดงบทบาททางวิชาการที่จะก่อให้เกิดการบูรณาการทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะมีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียนดังกล่าว โดยจะจัดสัมมนาในมิติทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียนเป็นระยะ โดยในปีนี้จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ห้า ซึ่งจากการประชุมร่วมกันของผู้เกี่ยวทั้งจากภายในมหาวิทยาลัยและจากภายนอก ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าในปีแรกนี้ควรจะจัดสัมมนาในหัวข้อ “ภูษาอาเซียน การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และพลังสร้างสรรค์” ในวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างพื้นที่บูรณการทางวัฒนธรรมของประเทศในประชาคมอาเซียน ซึ่งจะช่วยทำให้วัฒนธรรมเป็นพลังผลักดันการก้าวไปข้างหน้าของประชาคมอาเซียนได้อย่างเข้มแข็ง
2) เพื่อสร้างเวทีประชุมสัมมนาที่นักวิชาการ ศิลปิน และผู้สนใจ ในกลุ่มประเทศอาเซียน จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกัน
3) เพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆด้านการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน และแนวทางที่จะพัฒนาวัฒนธรรมให้สอดคล้องและเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลง
4) เพื่อสร้างฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนที่อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์กำลังดำเนินการ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในงานบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยในอนาคต

3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและผู้ที่สนใจ มีพื้นที่บูรณการทางวัฒนธรรมของประเทศในประชาคมอาเซียน ซึ่งจะช่วยทำให้วัฒนธรรมเป็นพลังผลักดันการก้าวไปข้างหน้าของประชาคมอาเซียนได้อย่างเข้มแข็ง
2) นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและผู้ที่สนใจมีเวทีประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติของกลุ่มประเทศอาเซียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกัน
3) นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาและผู้ที่สนใจสามารถสร้างความรู้ใหม่ๆด้านการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน และแนวทางที่จะพัฒนาวัฒนธรรมให้สอดคล้องและเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลง
4) อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ สามารถเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน กำลังดำเนินการซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในงานบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยในอนาคต

4. วัน และสถานที่การจัดประชุมวิชาการ
วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สถานที่ ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

5. กิจกรรมการจัดประชุม
1) ปาฐกถาพิเศษ “ผ้าอาเซียน”
2) การจัดเสวนาประเด็น “ผ้าอาเซียน”
3) การนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentations) ภูษาอาเซียน : การปรับตัว การเปลี่ยนแปลง และพลังสร้างสรรค์ ในมิติดังนี้
3.1 ภูมิปัญญาผ้าอาเซียนกับวิถีและวัฒนธรรม
3.2 ผ้าอาเซียนกับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว
3.3 ผ้าอาเซียนสู่การสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่าเพิ่ม
3.4 ผ้าอาเซียนกับวัฒนธรรมร่วมสมัย
4) การจัดแสดงนิทรรศการ “ผ้าอาเซียน”
5) การจัดแฟชั่นโชว์ผ้าอาเซียน

6. เนื้อหาของการประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด ภูษาอาเซียน : การปรับตัว การเปลี่ยนแปลง และพลังสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยมิติต่าง ๆ ดังนี้
1) ภูมิปัญญาผ้าอาเซียนกับวิถีและวัฒนธรรม
2) ผ้าอาเซียนกับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว
3) ผ้าอาเซียนสู่การสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่าเพิ่ม
4) ผ้าอาเซียนกับวัฒนธรรมร่วมสมัย

การส่งบทคัดย่อบทความ และการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
1) ผู้สนใจเสนอผลงานวิจัยเพื่อนำเสนอภาคบรรยาย (Oral Presentation) ประกอบด้วย
– ผลงานทางวิชาการในรูปแบบบทคัดย่อ (Abstract) เพื่อลงในรายงานสืบเนื่องในงานประชุมวิชาการ (Proceedings) ทั้งในรูปแบบภาษาไทยและอังกฤษ
– ผลงานทางวิชาการในรูปแบบบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) เพื่อรับพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ (สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ TCI กลุ่ม 2) หรือผู้เขียนสามารถเลือกลงตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องในงานประชุมวิชาการ (Proceedings) แต่สามารถเลือกได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
2) โดยผู้นำเสนอผลงานต้องจัดทำรูปแบบเอกสารตามแบบฟอร์มของการประชุม โดย download เอกสารได้ที่ website: https://wacc.wu.ac.th ผู้นำเสนอใช้เวลาในการนำเสนอ 20 นาที ประกอบด้วยผู้นำเสนอ 15 นาที และผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ 5 นาที ผู้นำเสนอบทความกรุณาระบุ ชื่อผู้นำเสนอ และสังกัดให้ชัดเจน
3) วิธีการส่งบทความ ส่งบทความ มาที่ e-mail : cultural.wu@gmail.com หรือลงทะเบียนออนไลน์ที่ https://wacc.wu.ac.th ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562
4) การพิจารณาบทความที่ส่งเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 5 จะได้รับการพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพทางวิชาการ (Peer Reviews) จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่ต่ำกว่า 2 ท่าน

7. ปฏิทินการดำเนินงาน
1) เปิดรับ บทคัดย่อ หรือ บทความฉบับเต็ม ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562
2) คณะกรรมการพิจารณาบทความและแจ้งผลให้เจ้าของบทความปรับแก้ไข วันที่ 1-10 กรกฎาคม2562
3) เจ้าของบทความส่งบทความที่ปรับแก้ไขและชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2562 
4) ประกาศโปรแกรมการนำเสนอ วันที่ 18 กรกฎาคม 2562
5) ลงทะเบียนสำหรับผู้สนใจทั่วไป ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2562
6) จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” ครั้งที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2562 

การลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมวิชาการผู้เข้าร่วมฟังการบรรยาย
– ผู้นำเสนอบทความวิชาการ ค่าลงทะเบียนจำนวน 1,000 บาท (อัตราค่าเสนอบทความวิชาการ เอกสารการประชุม ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม )
– ผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการฟังการบรรยายโดยไม่เสนอผลงาน ค่าลงทะเบียน จำนวน 500 บาท (อัตราค่าลงทะเบียนนี้รวมเอกสารการประชุม ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม )
– นิสิต นักศึกษา ที่เข้าร่วมงานประชุมวิชาการโดยไม่เสนอผลงานไม่เก็บค่าลงทะเบียน

8. กลุ่มเป้าหมาย/ค่าลงทะเบียน
ผู้นำเสนอผลงาน
1. นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย บุคคลทั่วไป นักศึกษาระดับปริญญาตรี/โท/เอก นำเสนอผลงานวิชาการ จำนวน 20 คน ค่าลงทะเบียน (อัตราค่าลงทะเบียนนี้รวมเอกสารการประชุม ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ) – นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย บุคคลทั่วไป 1,000 บาท
ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ
1. อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย จำนวน 60 คน
2. ลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ (ชำระค่าลงทะเบียน 500 บาท) จำนวน 30 คน
3. นักศึกษาร่วมฟังการประชุม (ไม่ค่าลงทะเบียน) จำนวน 150 คน

9 . วิธีการชำระเงิน
ผู้ประสงค์จะนำเสนอผลงานวิจัย ส่งแบบฟอร์มลงทะเบียนบทคัดย่อและบทความวิจัย ซึ่งจัดพิมพ์ตามรูปแบบที่กำหนดซึ่งระบุไว้ในแบบฟอร์ม ลงทะเบียนในระบบออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์ https://wacc.wu.ac.th หลังจากเจ้าของบทความส่งบทความที่ปรับแก้ไขแล้ว ให้ชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2562
1. การชำระเงิน ผ่านบัญชีธนาคารออมสิน สาขาท่าศาลา ชื่อบัญชี อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประเภทบัญชีเงินฝากเผื่อเรียก เลขที่บัญชี 020259794145 (โปรดระบุว่า “งานประชุมวิชาการฯ ครั้งที่ 5 ภูษาอาเซียน”)
2. หลังจากโอนเงินเรียบร้อยแล้วโปรดกรอกแบบฟอร์มรายละเอียดในการออกใบเสร็จให้ชัดเจนพร้อมส่งหลักฐานการชำระเงิน มายัง e-mail: cultural.wu@gmail.com
3. เงื่อนไขการยกเลิก ผู้ลงทะเบียนและชำระเงินเรียบร้อยแล้วทางผู้จัดขอสงวนสิทธิ์ในการไม่คืนเงินค่าลงทะเบียน แต่สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมได้
4. ผู้เข้าร่วมประชุมมีสิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ตามระเบียบว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม จัดงาน และประชุมของทางราชการ

10. ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณเพ็ญนภา วัยเวก
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เลขที่ 222 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 80160
โทรศัพท์ 0-7567-2508, ถึง 10 โทรสาร โทรศัพท์ 0-7567-2507
e-mail: cultural.wu@gmail.com
สามารถติดตามข่าวสารการประชุมและกำหนดการประชุมพร้อมลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ https://wacc.wu.ac.th

11. ผลผลิตและตัวชี้วัดความสำเร็จ
ผลผลิต : การเรียนรู้ศึกษา ทำความเข้าใจ เนื้อหาทางวิชาการ ภูษาอาเซียน : การปรับตัว การเปลี่ยนแปลง และพลังสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยมิติต่าง ๆดังนี้
1) ภูมิปัญญาผ้าอาเซียนกับวิถีและวัฒนธรรม
2) ผ้าอาเซียนกับการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว
3) ผ้าอาเซียนสู่การสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่าเพิ่ม
4) ผ้าอาเซียนกับวัฒนธรรมร่วมสมัย

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ :
1) ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
2) ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ :
1) สามารถบูรณการและสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ผ้าอาเซียน ในมุมมองและมิติของประเทศในประชาคมอาเซียน ซึ่งจะช่วยทำให้วัฒนธรรมเป็นพลังผลักดันการก้าวไปข้างหน้าของประชาคมอาเซียนได้อย่างเข้มแข็ง
2) สร้างเวทีประชุมสัมมนาที่นักวิชาการ ศิลปิน และผู้สนใจ ในกลุ่มประเทศอาเซียน จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกัน
3) เพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆด้านการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน และแนวทางที่จะพัฒนาวัฒนธรรมให้สอดคล้องและเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลง
4) การสร้างฐานข้อมูล ศิลปะการแสดงและวัฒนธรรม ที่อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์กำลังดำเนินการเพื่อเป็นองค์ความรู้ในการบริการวิชาการแก่สังคม
4.1 บทความวิชาการที่นำเสนอในเวที
4.2 หนังสือประกอบการประชุมวิชาการ

12. ความพร้อมของโครงการ
ป็นโครงการที่ได้วางแผนการทำงานไว้ล่วงหน้าอย่ารัดกุม มีการประสานนักวิชาการ และสถานที่ในการจัดงานไว้ล่วงหน้า

13. ความเสี่ยงของโครงการ และแนวทางลดความเสี่ยง
ความเสี่ยง : ในเรื่องจำนวนนักวิชาการที่มีความสนใจในการส่งผลงานและการนำเสนอผลงานทางวิชาการในประเด็น “ผ้าอาเซียน” จะต้องใช้เวลาในการประสานงาน

แนวทางลดความเสี่ยง : โดยจะต้องประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการประสานงานไปยังมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงทางดานศิลปวัฒนธรรมหรือคณะที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น มนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์ของแต่ละประเทศโดยตรง